ข้อดี-ข้อเสีย WordPress Plugin auto update

 

WordPress Plugin auto update  เปิดได้ง่ายมาก แล้วเราจะเปิดให้มันอัพเดทอัตโนมัติดีไหม มีข้อดีข้อเสียอย่าไร วันนี้เราจะมารู้กัน

 

โดยปกตะแล้วตัว plugin WordPress นั้นจะแยกกันอัพเดทกับตัว WordPress Core ซึ้งก่อนที่เราจะติดตั้งหรืออัพเดทส่วนไหนก็จะมีแจ้งเตือนความเข้ากันได้ในส่วนของ WordPress กับ Plugin ก่อนว่าเข้ากันได้ไหม


WordPress-auto-update

 

ดังนั้นก่อนที่เราจะทำการอัพเดทหรือติดตั้งปลั๊กอินใหม่ ต้องไม่ลืมดูในส่วนนี้ก่อน ถามว่าเราติดตั้งได้ไหมถ้าปลั๊กอินเข้ากันไม่ได้กับ WordPress เวอร์ชั่นที่เราใช้ ขอตอบว่าได้ครับ เพียงแค่มีการแจ้งเตือนว่าปลั๊กอินตัวนั้นๆยังไม่ได้ผ่านการทดสอบความเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์กับเวอร์ชั่นของ WordPress ที่เราใช้อยู่  จุดนี้จึงเป็นที่ไปที่มาของข้อพิจารณาที่ว่าจะอัพเดทปล็๊กอินอัตโนมัติดีไหม เพราะความเข้ากันไม่ได้ระหว่างปลั๊กอินกับตัว WordPress เองอาจจะมีปัญหาตามมา เช่นการกดซื้อขายของไม่ได้ หรือส่วนนั้นส่วนนี้ไม่แสดง หรือทำให้ธีมเว็บผิดเพี้ยนไป

WordPress-Plugin-auto-update

 

ดั้งนั้นเราจะเปิดหรือปิดดี ผมจะแยกให้เห็นดังนี้

ข้อดีของการเปิด [เหมาะกับเว็บที่แสดงเนื้อหาทั่วไป]

  1. ไม่ต้องมาคอยกดอัพเดทเองให้เสียเวลา
  2. ถ้าเว็บของท่านไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล และเป็นเพียงเว็บที่ไม่ได้มีระบบซับซ้อนมีการอัพเดทเนื้อหาน้อย การเปิดให้อัพเดทอัติโนมัติไว้จะดีกว่าปิด เพราะถ้ากรณี WordPress หรือ Plugin มี Bug ขึ้นมาก็จะทำการอัพเดทเพื่อปิด Bug ตรงนั้นอย่างรวดเร็ว
  3. ระบบภายในเว็บจะใหม่อยู่ตลอดเวา

ข้อเสียของการเปิด

  1. ปลั๊กอินบางตัวยังเข้ากันไม่ได้กับตัว WordPress เวอร์ชั่นใหม่ แน่นอนว่าเมือเราตั้งค่าให้มันอัพเดทตัวเองอัตโนมัติทั้งตัว WordPress และปลั๊กอินไปพร้อมๆกัน ก็มักจะมีปลั๊กอินบางตัวที่อัพเดทตาม WordPress ไม่ทันก็จะทำให้เกิดความไม่เสถียรหรือบางโมดูลอาจจะไม่ทำงานไปเลยก็ได้ เช่นระบบซื้อ-ขายหรือส่วนเสริมอื่นๆของ WooCommerce 

ข้อดีของการปิดออโต้อัพเดท [เหมาะกับเว็บ Ecommerce และมีคนดูแล]

  1. การเปิดอัพเดทอัตโนมัติอาจส่งผลต่อระบบถ้ามันเข้ากันไม่ได้ จึงต้องตรวจสอบฟังค์ชั่นการทำงานก่อนมีการอัพเดทหรือมีช่วงเวลาปรับปรุงระบบ เพื่อตรวจสอบการเข้ากันได้ของปลั๊กอินกับตัว WordPress เองว่าใช้งานรวมกันได้ปกติดีไหม เช่นระบบเช่นระบบขายของออนไลน์ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดในกระบวนการซื้อขาย

ข้อเสียของการปิดออโต้อัพเดท

  1. ระบบในเว็บเราไม่ทันสมัย
  2. ถ้าปลั๊กอินหรือตัว WordPress เองเกิดมีช่องโหว่ของระบบขึ้นมาก็จะไม่ได้รับการซ่อมแซมทันท่วงที กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็โดน Hack ระบบไปแล้วก็มี

ขอนแก่นรับทำเว็บไซต์ด้วย WordPress
ขอนแก่นรับดูและเว็บไซต์ 
ขอนแก่นรับทำเว็บขายของออนไลน์ WooCommerce

ทำไมมันดูยุ่งยากวุ่นวายจัง “อิหยังวะ”
ก็ไม่ขนาดนั้นครับ สำหรับเว็บที่มีคนดูแลผมแนะนำว่า ตัว WordPress ไม่ต้องเปิดอัพเดทอัตโนมัติ เพราะเราต้องทำการสำรองข้อมูลก่อนจะดีกว่าหรือใครลงปลั๊กอินพวก Backup ข้อมูลอัติโนมัติไว้ก็สามารถตั้งอัพเดท WordPress ไว้ได้ ต่อให้เว็บอัพเดทแล้วเสถียรเราก็สามารถกลับไปใช้ของเดิมได้ แต่อย่าลืมว่าการเดินหน้าถอยหลังของระบบนั้นย่อมเสียเวลาเสมอและระบบมีสะดุดแน่นอน  

ส่วนเว็บที่มีคนดูแล ผมก็แนะนำให้เปิดอัพเดทปลั๊กอินที่ไม่สำคัญเป็นอัตโนมัติก็ได้เช่น Cassic editer , Disable comment หรือพวกจัดการ cache อะไรพวกนี้
และเลือกอัพเดทเองกับพวกปลั๊กอินสำคัญๆเช่น WooCommerce ,Elementor, หรือพวก payment ต่างๆ เพราะต้องเช็คก่อนอัพเดทน่าจะเป็นการดีครับ